ดินแดนปัญญาชน SEAL2thai.org

ทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญากับความคิดสร้างสรรค์ของ Guilford

 

   
 
   

 ดินแดนปัญญาชน

[หน้าแรก]

[รวมสาระ]

[webboard]

[คุรุชน]

ร่วมสนับสนุนเรา
โดยการทำ link
มาหาเรานะครับ

 เฟอร์นิเจอร์ไม้สัก
 
พรมลายน่ารัก
 
มะขาม
ขนมจีน

 ข้อสอบ o-net a-net

       
    
บ้านครูแชมป์ เรียนพิเศษในพิษณุโลก

         

 

 
 


     Guilford (1967) ได้พัฒนาความคิดเกี่ยวกับองค์ประกอบ เฉพาะทางสติปัญญาโดยสร้างแบบจำลองที่เรียกว่า แบบจำลองโครงสร้างทางสติปัญญาของ Guilford ขึ้นตั้งแต่ปี ค. ศ. 1950 โดยที่เขาเห็นว่า สติปัญญาเป็นสิ่งที่เกิดจากการร่วมกันของมิติ ทั้ง 3 คือ วิธีการคิด (Operation) เนื้อหา (Content) และผลของการคิด (Products)
มิติด้านวิธีการคิดแบ่งออกเป็น 5 ประการคือ
1. คิดแบบรู้และเข้าใจ (Cognition : C)
2. คิดแบบจำ ( Memory : M)
3. คิดแบบอเนกนัย ( Divergent Thinking : D)
4. คิดแบบเอกนัย ( Convergent Thinking : N)
5. คิดแบบประเมิน (Evaluation : E)
มิติด้านเนื้อหา แบ่งออกเป็น 4 ประการคือ
1. ภาพ (Figural : F)
2. สัญลักษณ์ (Symbolic : S)
3. ภาษา (Semantic : M)
4. พฤติกรรม (Behavior : B)
มิติด้านผลของการคิด แบ่งออกเป็น 6 ประการคือ
1. หน่วย (Unit : U)
2. จำพวก (Classes : C)
3. ระบบ (Relation : R)
4. การแปลงรูป (Transformation : T)
5. การประยุกต์ (Implication : I)
จากลักษณะโครงสร้าง 3 มิตินี้รวมกันแล้วได้ความสามารถทางสติปัญญา 120 แบบ หรือ
120 เซลล์ ความสามารถแต่ละแบบย่อมประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย ๆ ที่มาจากมิติทั้ง 3 ร่วมกัน ดังแสดงในภาพประกอบที่ 5 จากความสามารถ 120 แบบนี้ ปรากฏว่ามากกว่า 80 แบบได้รับการพัฒนาเป็นแบบทดสอบเรียบร้อยแล้ว
เมื่อพิจารณาโครงสร้างทางสติปัญญาของ Guilford จะพบว่า วิธีการคิดที่เน้นเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ ก็คือ การคิดแบบอเนกนัย (Divergent thinking) และเมื่อนำมาคิดแบบอเนกนัยไปสัมพันธ์กับมิติด้านเนื้อหาซึ่งมีองค์ปประกอบย่อย ๆ 4 ประการคือ ภาพ สัญลักษณ์ ภาษา และพฤติกรรม และมิติด้านผลของความคิด ซึ่งมีองค์ประกอบย่อย ๆ 6 ประการคือ หน่วยจำพวกความสัมพันธ์ ระบบ การแปลงรูปและการประยุกต์ จะได้ความสามารถหรือเซลล์ 24 แบบ หรือ 24 เซลล์ ( 1 46 )
 

   

  counter power by www.seal2thai.org