มโนทัศน์สำคัญเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน

                                                                                                            เรียบเรียงโดย นายพิริยะ  ตระกูลสว่าง และคณะ

                                                                                                                                นักศึกษาปริญญาโท  สาขาหลักสูตรและการสอน รุ่นที่ 2
                                                                                                                        ม.ราชภัฏพิบูลสงคราม

            มโนทัศน์สำคัญเกี่ยวกับการเรียนการสอนดังที่จะกล่าวต่อไปนี้มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ในการจัดการศึกษา และก่อให้เกิดทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆ ที่จะช่วยอธิบายธรรมชาติ และลักษณะสำคัญของกระบวนการเรียนรู้ที่ดี และจะนำไปสู่การสอนอย่างมีทิศทางและเป้าหมายที่เหมาะสม โดยแยกคำนิยามเกี่ยวกับมโนทัศน์และแสดงให้เห็นรายละเอียดและสาระสำคัญของแต่ละมโนทัศน์ คือ

ศาสตร์การสอน

            ศาสตร์การสอน (Science of Teaching) หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้และการสอนที่สังคมโลกได้สั่งสมมาตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน ซึ่งผู้สอนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามเป้าหมาย / จุดหมาย / วัตถุประสงค์ของการสอนที่กำหนด ความรู้ดังกล่าวได้มาจากการคิด การวิเคราะห์ของนักปราชญ์ และนักคิดทั้งหลายหรือได้มาจากการศึกษา ค้นคว้า พิสูจน์ทดสอบตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักจิตวิทยาและนักการศึกษาต่างๆ ข้อความรู้ดังกล่าวประกอบด้วย ปรัชญาการศึกษา บริบท ทางการสอน ทฤษฎี หลักการ แนวคิด ระบบ รูปแบบ วิธีการ เทคนิค และจิตวิทยาทางการเรียนรู้และการสอน การวางแผนและออกแบบการจัดการเรียนการสอน การดำเนินการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล สื่อและเทคโนโลยีทางการสอน นวัตกรรมและการวิจัยการเรียนการสอน เป็นต้น

ศิลปะการสอน

            ศิลปะการสอน (Art of Teaching) หมายถึง ความรู้และความสามารถในการนำจิตวิทยา วิธีการและเทคนิคต่างๆ ไปใช้ในการสอน เพื่อช่วยให้การสอนมีความน่าสนใจ สนุกมีชีวิตชีวา และช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ราบรื่นและมีความสุข

บริบททางการสอน

            บริบททางการสอน (Teaching Context) หมายถึง สิ่งแวดล้อมทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน ซึ่งมีความสัมพันธ์ / มีอิทธิพลตอ่การสอน ทั้งในระดับจุลภาพ (micro) ซึ่งเป็นระดับที่ใกล้ตัวผู้เรียนผู้สอนมากที่สุด ไปจนถึงระดับมหภาค (macro) ซึ่งเป็นระดับที่ไกลตัวผู้เรียนมากที่สุด เช่น สภาพทางจิตใจและความรู้ทางวิชาการของผู้สอน สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกตัวผู้เรียน สภาพของห้องเรียน บรรยากาศผู้บริหาร การบริหารงาน บุคลากรในโรงเรียน สภาพของโรงเรียน สภาพแวดล้อมในโรงเรียน ผู้ปกครอง บุคคลในชุมชน สภาพทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองของชุมชน ทรัพยากรในชุมชน นโยบายและแผนการจัดการศึกษาระดับชาติ การบริหารการศึกษาระดับชาติ การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ความเคลื่อนไหวและความก้าวหน้าทางวิชาการ ของโลก เป็นต้น

ปรัชญาการศึกษา

            ปรัชญาการศึกษา (Educational Philosophy) หมายถึง ความคิดหรือระบบของความคิดที่เกี่ยวกับการศึกษา ที่ตั้งอยู่บนรากฐานของปรัชญาแม่บทปรัชญาใดปรัชญาหนึ่ง ปรัชญาการศึกษาเป็นปรัชญาที่แตกหน่อมาจากปรัชญาทั่วไปอันเป็นปรัชญาที่ว่าด้วยความรู้ความจริงของชีวิต ปรัชญาการศึกษาเป็นความเชื่อ ความศรัทธา การเห็นคุณค่าในความคิดทางการศึกษาใดๆ ซึ่งผลักดันให้บุคคลคิดและกระทำการต่างๆ ในด้านการจัดการศึกษาให้มีความสอดคล้องกับความเชื่อนั้นๆ

ทฤษฎีการเรียนรู้

            ทฤษฎีการเรียนรู้ (Learning Theory) หมายถึง ข้อความรู้ที่พรรณนา / อธิบาย / ทำนาย ปรากฎการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับการเรียนรู้ ซึ่งได้รับการพิสูจน์ ทดสอบตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และได้รับการยอมรับว่าเชื่อถือได้ และสามารถนำไปนิรนัยเป็นหลักหรือกฎการเรียนรู้ย่อยๆ หรือนำไปใช้เป็นหลักในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้ ทฤษฎีโดยทั่วไปมักประกอบด้วยหลักการย่อยๆ หลายหลักการ

หลักการเรียนรู้

            หลักการเรียนรู้ (Learning Principle) หมายถึง ข้อความรู้ย่อยๆ ที่พรรณนา อธิบาย / ทำนาย ปรากฏการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับการเรียนรู้ ซึ่งได้รับการพิสูจน์ ทดสอบ ตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และได้รับการยอมรับว่าเชื่อถือได้ สามารถนำไปใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้ หลักการเรียนรู้หลายๆ หลักการ อาจนำไปสู่การสร้างเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ได้

ทฤษฎีการสอน

            ทฤษฎีการสอน (Teaching / Instructional Theory) คือ ข้อความรู้ที่พรรณนา / อธิบาย / ทำนาย ปรากฏการณ์ต่างๆ ทางการสอน ที่ได้รับการพิสูจน์ ทดสอบ และการยอมรับว่าเชื่อถือได้ ซึ่งนักจิตวิทยา หรือนักการศึกษาอาจพัฒนาหรือแปลงมาจากทฤษฎีการเรียนรู้ เพื่อนำไปใช้เป็นหลักในการจัดการเรียนการสอนให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ ทฤษฎีการสอนหนึ่งๆ มักประกอบไปด้วยหลักการสอนย่อยๆ หลายหลักการ

 

 

หลักการสอน

            หลักการสอน (Teaching / Instructional Principle) คือ ข้อความรู้ย่อยๆ ที่พรรณนา / อธิบาย / ทำนาย ปรากฏการณ์ต่างๆ ทางการสอน ที่ได้รับการพิสูจน์ ทดสอบและการยอมรับว่าเชื่อถือได้ สามารถนำไปใช้ในการสอนผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด หลักการสอนหลายๆ หลักการ อาจนำไปสู่การสร้างเป็นทฤษฎีการสอนได้

แนวคิดทางการสอน

            แนวคิดทางการสอน (Teaching / Instructional Concept / Approach) คือ ความคิดเกี่ยวกับการสอนที่พรรณนา / อธิบาย / ทำนายปรากฎการณ์ต่างๆ ทางการสอนที่นักคิด นักจิตวิทยา หรือนักการศึกษา ได้นำเสนอและได้รับการยอมรับในระดับหนึ่งว่าเป็นแนวคิดที่น่าเชื่อถือด้วยเหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง

ระบบการสอน / ระบบการเรียนการสอน

            ระบบการสอน / ระบบการเรียนการสอน (Teaching / Instructional System) คือ องค์ประกอบต่างๆ ของการเรียนการสอนที่ได้รับการจัดให้มีความสัมพันธ์กันและส่งเสริมกันอย่างเป็นระบบ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้

รูปแบบการสอน / รูปแบบการเรียนการสอน

            ระบบการสอน / รูปแบบการเรียนการสอน (Teaching / Instructional Model) คือ แบบแผนการดำเนินการสอนที่ได้รับการจัดเป็นระบบ อย่างสัมพันธ์สอดคล้องกับทฤษฎี / หลักการเรียนรู้หรือการสอนที่รูปแบบนั้นยึดถือ และได้รับการพิสูจน์ ทดสอบว่ามีประสิทธิภาพสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายเฉพาะของรูปแบบนั้นๆ โดยทั่วไปแบบแผนการดำเนินการสอนดังกล่าว มักประกอบด้วย ทฤษฎี / หลักการที่รูปแบบนั้นยึดถือและกระบวนการสอนที่มีลักษณะ เฉพาะอันจะนำ ผู้เรียนไปสู่จุดมุ่งหมายเฉพาะที่รูปแบบนั้นกำหนด ซึ่งผู้สอนสามารถนำไปใช้เป็นแบบแผนหรือแบบอย่างในการจัดและดำเนินการสอนอื่นๆ ที่มีจุดมุ่งหมายเฉพาะเช่นเดียวกันได้

วิธีสอน

            วิธีสอน คือ ขั้นตอนที่ผู้สอนดำเนินการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ด้วยวิธีการต่างๆ ที่แตกต่างกันไปตามองค์ประกอบและขั้นตอนสำคัญอันเป็นลักษณะเด่นหรือลักษณะเฉพาะที่ขาดไม่ได้ของวิธีนั้นๆ เช่น วิธีสอนโดยใช้การบรรยาย องค์ประกอบสำคัญของการบรรยาย คือ เนื้อหาสาระที่จะบรรยาย และการบรรยาย และขั้นตอนสำคัญคือ การเตรียมเนื้อหาสาระ การบรรยาย (พูด บอก เล่า อธิบาย) และการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดจากการบรรยาย ดังนั้นวิธีสอนโดยใช้การบรรยาย ก็คือกระบวนการหรือขั้นตอนที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยการเตรียมเนื้อหาสาระที่จะบรรยาย แล้วบรรยาย คือ พูด บอก เล่า อธิบาย เนื้อหาสาระหรือสิ่งที่ต้องการสอนแก่ผู้เรียนและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง ต่อความหมายการสอน

ความหมายของการสอน

            การสอน เป็นงานหลักของครู ซึ่งปัจจุบันถือว่าครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง ที่บุคคลในวิชาชีพนี้ ต้องได้รับการศึกษาอบรมมาโดยเฉพาะเพื่อให้มีความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติหน้าที่ สามารถเลือกศึกษา อบรมมาโดยเฉพาะ เพื่อให้มีความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติหน้าที่ สามารถเลือกวิธีปฏิบัติงานที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้นักเรียนมีความรู้ ทักษะ และเจตคติ ดังที่ระบุไว้ในจุดประสงค์การสอน ครูต้องมีการฝึกฝนด้านการสอนอยู่เสมอเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ในการทำงานเช่นเดียวกับวิชาชีพชั้นสูงอื่นๆ และต้องมีมาตรฐานของวิชาชีพ การที่ครูสามารถปฏิบัติงานการสอนได้ดีขึ้นอยู่กับความสามารถในการผสมผสานศาสตร์ว่าด้วยการสอนกับศิลปะของการสอนเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดประสิทธิผลของการสอนสูงสุด

        ครูที่มีประสิทธิผล (Effective Teacher) นอกจากจะมีความรู้ในศาสตร์ของการสอน และมีศิลปะของการสอนแล้ว ยังต้องมีคุณลักษณะ 4 ประการ ต่อไปนี้

    1. การประยุกต์ทฤษฎีและการวิจัยการสอนไปใช้
    2. การสะสมประสบการณ์การสอน
    3. การคิดวินิจฉัยไตร่ตรองและแก้ปัญหา
    4. การเรียนรู้การสอนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการบูรณาการความรู้กับประสบการณ์เข้าด้วยกัน

มีผู้ให้ความหมายคำว่า "การสอน" ต่างๆ กันไป เช่น

        แลงฟอร์ด (Langford 1968 : 114) กล่าวว่า การสอนคือกิจกรรมที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลคนหนึ่งยอมรับผิดชอบเกี่ยวกับการเรียนรู้ของบุคคลอีกคนหนึ่ง (การสอนจึงเป็นกิจกรรมที่ครูกระทำเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้)

            ในหนังสือ Dictionary of Education (Good 1973 : 304 และ 588) ได้ให้ความหมายของ การสอนไว้ดังนี้

            ความหมายของการสอนในระดับแคบ หมายถึง วิธีการที่ครูถ่ายทอดความรู้ อบรมนักเรียน ให้มีความรู้ ความคิด เจตคติและทักษะดังที่จุดประสงค์การศึกษาได้ระบุไว้

            ส่วนความหมายของการสอนในระดับกว้าง หมายถึง การกระทำและการดำเนินการด้านต่างๆ ของครูภายใต้สภาพการณ์การสอนการเรียน ซึ่งประกอบด้วย

    1. การสร้างสัมพันธภาพระหว่างครูกับนักเรียน
    2. กระบวนการตัดสินใจและวางแผนก่อนสอน ซึ่งได้แก่ การวางแผนการสอน การจัดเตรียมสื่ออุปกรณ์

เทคนิคการสอน

            เทคนิค คือ กลวิธีต่างๆ ที่ใช้เสริมกระบวนการ ขั้นตอน วิธีการ หรือการกระทำใดๆ เพื่อช่วยให้กระบวนการ ขั้นตอน วิธีการ หรือการกระทำนั้นๆ มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้น เทคนิคการสอน จึงหมายถึง กลวิธีต่างๆ ที่ใช้เสริมกระบวนการสอน ขั้นตอนการสอน วิธีการสอน หรือการดำเนินการทางการสอนใดๆ เพื่อช่วยให้การสอนมีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ในการบรรยาย ผู้สอนอาจใช้เทคนิคต่างๆ ที่สามารถช่วยให้การบรรยายมีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การยกตัวอย่าง การใช้สื่อ การใช้คำถาม เป็นต้น

ทักษะการสอน

            ทักษะการสอน คือ ความสามารถในการปฏิบัติการสอนด้านต่างๆ อย่างชำนาญซึ่งครอบคลุมการวางแผนการเรียนการสอน การออกแบบการเรียนการสอน การจัดการเรียนการสอน การใช้วิธีสอน เทคนิคการสอน รูปแบบการเรียนการสอน ระบบการสอน สื่อการสอนการประเมินผลการเรียนการสอน รวมทั้งการใช้ทฤษฎีและหลักการเรียนรู้และการสอนต่างๆ

นวัตกรรมการสอน

            นวตกรรม คือ สิ่งใหม่ที่ทำขึ้น ซึ่งอาจอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ หรือสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ดังนั้น นวัตกรรมการสอนจึงหมายถึงแนวคิด วิธีการ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่สามารถนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งอาจเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือใหม่เพียงบางส่วน หรืออาจเป็นสิ่งใหม่ในบริบทหนึ่งหรือในช่วงเวลาหนึ่ง หรืออาจเป็นสิ่งใหม่ที่กำลังอยู่ในกระบวนการพิสูจน์ทดสอบ หรือได้รับการยอมรับนำไปใช้แล้ว แต่ยังไม่แพร่หลายหรือเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานปกติ

การวิจัยด้ายการเรียนการสอน

            การวิจัยด้านการเรียนการสอน คือ การศึกษาหาคำตอบให้แก่ปัญหาหรือคำถามต่างๆ เกี่ยวกับการเรียนการสอนด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้คำตอบที่น่าเชื่อถือต่อแปรที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบสำคัญของการเรียนการสอนครอบคลุมตัวแปร เกี่ยวกับผู้เรียนผู้สอน บริบทของการเรียนการสอน กระบวนการเรียนการสอน และผลผลิตของการเรียนการสอน

 

ผู้เรียน ผู้สอน

 


การเรียนรู้ การสอน


ทฤษฎี / หลักการ / แนวคิด ทฤษฎี / หลักการ / แนวคิด

เกี่ยวกับการเรียนรู้ เกี่ยวกับการสอน

+ Descriptive + Prescriptive

+ Substantive + Methodological

 


กระบวนการเรียนรู้ กระบวนการการสอน

(Learning Process) (Instructional Process)

+ Generic + Generic

+ Specific

+ Specific

สาระการเรียนรู้ รูปแบบการสอน วิธีการสอน เทคนิคการสอน

(Content) (model) (method) (technique)

 


ผลการเรียนรู้ ผลการสอน

 

 

แผนผังที่ 1 ความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนรู้กับการสอน

กระบวนการสอน


รูปแบบการสอน

 

วิธีการสอน

   

เทคนิคการสอน

รูปแบบเน้นด้านพุทธิพิสัย

         

- Concept Attainment Model

- Gagne's Model

- Memory Model

- บรรยาย (Lecture)

- สาธิต (Demonstration)

- อธิปรายกลุ่มย่อย (Small Group

Discussion)

- การใช้ผังกราฟฟิก

(Graphic Organizer)

- การใช้คำถาม

(Questioning)

รูปแบบเน้นด้านจิตพิสัย

 

- ละคร (Dramatization)

- การจัดกลุ่ม (Grouping)

- Bloom's Model

- Jurisprudential Model

- Role Playing Model

- บทบาทสมมติ (Role Playing)

- กรณีตัวอย่าง (Case)

- เกม (Game)

- การสร้างแรงจูงใจ (Motivation)

- ฯลฯ

 

- สถานการณ์จำลอง (Simulation)

 

รูปแบบเน้นด้านทักษะพิสัย

 

- สถานการณ์จำลอง (Simulation)

 

- Sympson's Model

- นิรนัย (Deduction)

 

- Harrow's Model

- อุปนัย (Induction)

 

- Davie's Model

- ศูนย์การเรียน (Learning Center)

 
 

- บทเรียนแบบโปรแกรม (Programmed Instruction)

รูปแบบเน้นทักษะกระบวนการ

 

- Group Investigation Model

 

- Inductive Inquiry Model

 

- Greative Thinking Model

 

- Torrance's Future Problem

 

Solving Model

 
   

รูปแบบเน้นการบูรณาการ

 

- Direct Instruction Model

- Storyline Model

- 4 MAT Model

- Cooperative Learning Model

 

- ฯลฯ

 

แผนผังที่ 2 รูปแบบการสอน วิธีการสอน และเทคนิคการสอนต่างๆ ที่ใช้ในกระบวนการสอน

สมรรถภาพของผู้สอน

            เรื่องสมรรถภาพของครูหรือผู้สอนนั้นมีความจำเป็นมาก อย่างเช่น ไรอัน (Ryan 1970) ระบุลักษณะครูที่ดีไว้ 7 ประการ ซึ่งการวิเคราะห์ตัวประกอบ ดังนี้

    1. มีการเตรียมการสอนเป็นอย่างดี
    2. มีความตื่นตัวอยู่เสมอ
    3. มีความร่าเริงแจ่มใส
    4. มีความยุติธรรม ไม่สนใจนักเรียนคนใดคนหนึ่ง
    5. สนใจและเข้าใจนักเรียน
    6. ส่งเสริม ให้กำลังใจ ยกย่องสมเป็นนักเรียนที่ทำงานดี
    7. มีความเป็นมิตรและสุภาพ
    8. ยอมรับความคิดเห็นและความจำเป็นของนักเรียนแต่ละคน
    9. สนับสนุนให้นักเรียนทำงาน รู้จักประเมินผลงานด้วยตนเอง

เวอร์เนอร์และคณะ (Verner et.al 1971) ระบุว่าครูควรมีสมรรถภาพ 4 ด้าน คือ

    1. ด้านปฏิสัมพันธ์ ประกอบด้วย
      1. ให้คำแนะนำที่ชัดเจนแก่นักศึกษาได้
      2. จัดการและสื่อความหมายได้ดี
      3. ตอบสนองพฤติกรรมของนักเรียนได้
      4. แก้ไขกิจกรรมนักเรียนได้
      5. ตอบสนองความต้องการอย่างมีเหตุผล
      6. หาข้อมูลจากนักเรียนได้หลายวิธี
      7. การทำงานเป็นคณะได้ดี
    2. ด้านการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย
      1. มีกลวิธีการสอนเหมาะสม
      2. จัดกลุ่มการเรียนได้หลากหลาย
      3. จัดการเรียนได้หลากหลาย
      4. มีสื่อการสอนพร้อม
      5. สอนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
      6. ระบุจุดหมายการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม
      7. จัดระบบสื่อและบริการสื่อได้สะดวกรวดเร็ว
      8. วางแผนกิจกรรมร่วมกับนักศึกษาได้
      9. มีเทคนิคหาข้อมูลจากนักศึกษาได้

      2.10 ใช้คำถามได้เหมาะสม

      2.11 เสริมกำลังใจได้ดี

      2.12 สร้างสามัญสำนึกแก่นักเรียนได้

      2.13 สร้างความคิดรวบยอดทางวัฒนธรรมได้หลายด้าน

      2.14 กำหนดแผนการสอนได้

      2.15 เรียงลำดับกิจกรรมได้ดีเหมาะสมตามหลักจิตวิทยา

    3. ด้านการประเมินผล ประกอบด้วย
      1. วินิจฉัยเพื่อการแนะแนวได้
      2. สร้างเครื่องมือวัดแบบต่างๆ ได้
      3. จัดวิธีประเมินและแปรผลได้
    4. ด้านความก้าวหน้าในอาชีพ ประกอบด้วย
      1. สามารถปรับปรุงพฤติกรรมของตนได้
      2. สามารถเข้าร่วมโปรแกรมพัฒนาวิชาชีพ
      3. มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร

อาร์มสตรอง (Armstrong 1973) ระบุว่าครูควรมีความสามารถ ดังนี้

    1. สามารถกำหนดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
    2. เข้าใจถึงการเรียนรู้และนำมาใช้ในการสอน
    3. สามารถจัดกิจกรรมและวิธีการเรียนการสอนได้สอดคล้องกับความต้องการของนักศึกษาและสังคม
    4. มีเทคนิคการสอนที่ช่วยให้เรียนรู้ได้เร็ว
    5. มีเทคนิคและวิธีการวัดผลที่ดี และนำผลมาปรับปรุงการสอนได้
    6. สามารถประเมินผลการสอนของตนได้
    7. ให้การปรึกษานักเรียนเป็นรายบุคคล
    8. มีการติดต่ออย่างใกล้ชิดกับผู้ปกครอง

กรัสและคอสติน (Grush and Costin 1975) ได้เสนอว่าครูควรเป็นผู้ที่

    1. เชื่อมั่นในตนเอง
    2. ขยันขันแข็ง
    3. สามารถและกระตือรือร้นในการทำงาน
    4. ซื่อสัตย์
    5. เข้าใจนักเรียน
    6. ควบคุมกิจกรรมชั้นเรียนได้ดี
    7. ควบคุมชั้นเรียนได้ดี
    8. กระตุ้นให้นักเรียนกล้าคิดกล้าแสดงออก
    9. ให้ความรู้นักเรียนที่ทันการณ์
    10. มีอารมณ์ขัน

ฮอลส์และโจนส์ (Hall and Jones 1976) ระบุสมรรถภาพครูไว้ว่ามีอย่างน้อย 5 ประการ คือ

    1. สมรรถภาพด้านความรู้ ทั้งด้านเนื้อหา วิธีสอน จิตวิทยา
    2. สมรรถภาพด้านเจตคติ เกี่ยวกับค่านิยม เจตคติ ต่อผู้อื่นและสิ่งต่างๆ ไปในทางที่ดี
    3. สมรรถภาพด้านการปฏิบัติ คือ สามารถแสดงออกอันเป็นผลจากข้อ 1. ได้ดี
    4. สมรรถภาพที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ จึงสามารถแสดงออกอันเป็นผลมาจากข้อ 1 , 2 และ 3
    5. สมรรถภาพในการค้นคว้า เพื่อเพิ่มสมรรถภาพแก่ตัวครูเอง

วีแกนด์ (Wiegand 1977) เสนอทักษะสมรรถภาพของครูไว้ 7 ประการ คือ

    1. ความมีมนุษยสัมพันธ์
    2. การวัดผลประเมินผลทั่วไป
    3. การจัดลำดับการสอน
    4. การใช้คำถาม
    5. การเขียนจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
    6. การเสริมกำลังใจและจูงใจ
    7. การประเมินผลลำดับขั้นของการเรียน

            สำหรับในประเทศไทยมีงานวิจัยที่น่าสนใจหลายเรื่องเช่นวัน เช่น งานของเฉลียว บุรีภักดีและคณะ (2520) มานพ ภาษิตวิไลธรรม (2520) สมพร ปาละจูม (2520) ถาดทอง ปานศุภวัชระ (2530) เป็นต้น

การเปรียบเทียบบุคลิกภาพ

            การวิจัยเปรียบเทียบบุคลิกภาพ ได้แก่ การศึกษาเปรียบเทียบบุคลิกภาพของครูกับวิชาชีพหรืออาชีพอื่นๆ เช่น งานของ วัลลี หลีสันติพงศ์ (2515) ที่ศึกษาเปรียบเทียบบุคลิกภาพของครูกับนักบัญชี โดยใช้แบบสอบถามองค์ประกอบ 16 ด้านของแคทเทล และแบบทดสอบความเกรงใจ พบว่ามีความแตกต่างที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ระหว่างกลุ่มตัวอย่างที่เปรียบเทียบดังนี้ ครูผู้ประสบความสำเร็จอาศัยกลุ่ม (Q2-) สำรวม ไว้ตัว (A-) มากกว่าครูผู้ไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งค่อนข้างจะมีความอบอุ่นชอบออกสังคม นักบัญชีผู้ประสบความสำเร็จมีจิตใจกล้าแข็ง มั่นใจในตนเอง (I) สูงกว่านักบัญชีผู้ไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งมีจิตใจอ่อนแอ อ่อนไหว (I+) ครูผู้ประสบความสำเร็จถี่ถ้วน เคร่งขรึม จริงจัง (F) และอาศัยกลุ่ม (Q2-) มากกว่านักบัญชีผู้ประสบความสำเร็จ แต่นักบัญชีผู้ประสบความสำเจปฏิบัติตามความเป็นจริง ทำตามกฎ (M-) และมีจิตใจกล้าแข็ง (I-) มากกว่าครูผู้ไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งมีจิตใจอ่อนแอ (I+) ครูผู้ไม่ประสบความสำเร็จกล้าสังคม กล้าหาญ (H+) มากกว่าปฏิบัติตามความเป็นจริง (M-) น้อยกว่านักบัญชีผู้ไม่ประสบความสำเร็จ บุคลิกภาพด้านอื่นที่เหลือ และความเกรงใจครูผู้ประสบและผู้ไม่ประสบความสำเร็จกับนักบัญชีผู้ประสบและผู้ไม่ประสบความสำเร็จต่างก็มีลักษณะคล้ายคลึงหรือไม่แตกต่างกัน

            สำหรับพรพิมล เพ็งศรัทธา (2515) ศึกษาเปรียบเทียบบุคลิกภาพของครูกับนักวิทยาศาสตร์ พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ครูที่ไม่ประสบความสำเร็จค่อนข้างจะชอบออกสังคม (A+) มากกว่าครูที่ประสบความสำเร็จ ครูที่ประสบความสำเร็จค่อนข้างจะอาศัยกลุ่ม (Q2-) มากกว่าครูที่ไม่ประสบความสำเร็จ นักวิทยาศาสตร์ที่ไม่ประสบความสำเร็จค่อนข้างจะมีสติปัญญา (B+) มากกว่านักวิทยาศาสตร์ที่ไม่ประสบความสำเร็จค่อนข้างจะมีสติปัญญา (B+) มากกว่านักวิทยาศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จ ครูที่ประสบความสำเร็จค่อนข้างจะมีประสาทมั่นคง (O-) กล้าสังคม (H+) อาศัยกลุ่ม (Q2-) ควบคุมตนเองได้ (Q3+) และซื่อตรงต่อหน้าที่ (G+) มากว่านักวิทยาศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จ ครูที่ไม่ประสบความสำเร็จค่อนข้างจะชอบออกสังคม (H+) มากกว่านักวิทยาศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จ

            ส่วนสุจิตรา เหลืองรังสรรค์ (2516) ศึกษาเปรียบเทียบบุคลิกภาพของครูกับนักธุรกิจ พบว่าครูชายเป็นอิสระแก่ตัว จิตใจกล้าแข็ง มากกว่าครูหญิงที่ถ่อมตัว จิตใจอ่อนแอ นักธุรกิจชาย จิตใจกล้าแข็ง มากกว่านักธุรกิจหญิงที่จิตใจอ่อนแอ นักธุรกิจชายมีเหลี่ยม ผ่อนคลาย มากกว่านักธุรกิจหญิง นักธุรกิจชายชอบออกสังคมมากกว่าครูชายที่สำรวม นักธุรกิจชายอารมณ์มั่นคง กล้าสังคม ทำตามความเป็นจริง มีเหลี่ยม อาศัยกลุ่ม มากกว่าครูหญิงที่สำรวม อารมณ์อ่อนไหว ขี้อาย และนักธุรกิจหญิงมีเหลี่ยมมากกว่าครูหญิง นักธุรกิจชอบออกสังคม อารมณ์มั่นคง จิตใจกล้าแข็ง มากกว่าครูที่สำรวม อารมณ์อ่อนไหวจิตใจอ่อนแอ และนักธุรกิจกล้าสังคม ประสาทมั่นคง มีเหลี่ยม อาศัยกลุ่ม ควบคุมตัวเองได้ ผ่อนคลายมากกว่าครู และครูถี่ถ้วนระมัดระวัง มากกว่านักธุรกิจ ครูหญิงมีความเกรงใจมากกว่าครูชาย นักธุรกิจหญิงมีความเกรงใจมากกว่านักธุรกิจชาย

            สำหรับการศึกษาเปรียบเทียบบุคลิกภาพของครูกับแพทย์เป็นงานของ อบอวล หกสุวรรณ (2516) ซึ่งพบว่า กลุ่มอาชีพแพทย์มีบุคลิกภาพในด้านทำตามความเป็นจริงมากกว่ากลุ่มอาชีพครู แพทย์ชายมีบุคลิกภาพในด้านทำตามความเป็นจริงมากกว่าครูชาย และครูชายมีบุคลิกภาพในด้านถือตนเป็นใหญ่มากกว่าแพทย์ชาย แพทย์หญิงมีบุคลิกภาพในด้านทำตามความเป็นจริงมากกว่าครูหญิง ครูชายมีบุคลิกภาพในด้านถือตนเป็นใหญ่มากกว่าครูหญิง และครูหญิงมีบุคลิดภาพในด้านจิตใจอ่อนแอมากกว่าครูชาย แพทย์ชายมีบุคลิกภาพในด้านประสาทมั่นคงมากกว่าแพทย์หญิง ครูหญิงมีความเกรงใจมากกว่าครูชาย และแพทย์หญิงมีความเกรงใจมากกว่าแพทย์ชาย

            นอกจากการเปรียบเทียบบุคลิกภาพของครูกับอาชีพอื่นๆ แล้ว ยังมีการศึกษาวิจัยเปรียบเทียบบุคลิกภาพของครูด้วยกันเองอีกด้วย เช่น งานของ พจนารถ แดงพลอย (2531) ที่ศึกษาเปรียบเทียบบุคลิกภาพของครูกับครูแนะแนวที่ประสบความสำเร็จในอาชีพ พบว่าครูที่ประสบความสำเร็จในอาชีพได้คะแนนบุคลิกภาพสูงในองค์ประกอบด้วยสติปัญญา (B+) มโนธรรม (G+) การเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น (Q1+) และได้คะแนนบุคลิกภาพต่ำในองค์ประกอบด้านการกล้าแสดงออก (E-) และความร่าเริง (F-) ครูแนะแนวที่ประสบความสำเร็จในอาชีพได้คะแนนบุคลิกภาพสูงในองค์ประกอบด้าน สติปัญญา (B+) ความระแวง (L+) และการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น (N+) และได้คะแนนบุคลิกภาพต่ำในองค์ประกอบด้านการกล้าแสดงออก (E-) และความร่าเริง (F-) ครูที่ประสบความสำเร็จในอาชีพได้คะแนนบุคลิกภาพในองค์ประกอบด้านมโนธรรม (G+) สูงกว่าครูแนะแนวที่ประสบความสำเร็จในอาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนบุคลิกภาพด้านอื่นๆ พบว่า ได้คะแนนบุคลิกภาพไม่แตกต่างกัน

            ขณะเดียวกัน รัฐวุฒิ ก่องขันธ์ (2533) ก็ได้ศึกษาเปรียบเทียบบุคลิกภาพด้านความต้องการของครูที่สอนในโรงเรียนที่นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกับครูที่สอนในโรงเรียนที่นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ พบว่าครูที่สอนในโรงเรียนที่นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง และครูที่สอนในโรงเรียนที่นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ มีบุคลิกภาพด้านความต้องการที่แสดงออกมากเป็นอันดับ 1 , และ 3 ตรงกัน คือ ความอดทน การช่วยเหลือผู้อื่น - น้ำใจ และการสำนึก - ยอมรับโทษ และด้านที่แสดงออกน้อยเป็นอันดับที่ 14 และ 15 ตรงกัน คือ การแสดงตัวและการคบเพื่อนต่างเพศ ครูเพศชายที่สอนที่โรงเรียนที่นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง มีบุคลิกภาพด้านความต้องการเป็นระเบียบ การสำนึก - ยอมรับโทษ และความอดทนอยู่ในระดับสูง ครูเพศหญิงที่สอนในโรงเรียนที่นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง มีบุคลิกภาพด้านความต้องการสัมฤทธิ์ผลการเป็นระเบียบ และความอดทนอยู่ในระดับสูง ครูเพศชายที่สอนในโรงเรียนที่นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์การเรียนต่ำ มีบุคลิกภาพด้านความต้องการเป็นระเบียบ การสำนึก - ยอมรับโทษ และความอดทน อยู่ในระดับสูง ครูเพศหญิงที่สอนในโรงเรียนที่นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ มีบุคลิกภาพด้านความต้องการเป็นระเบียบและอดทนอยู่ในระดับสูง บุคลิกภาพด้านความต้องการของครูที่มีเพศต่างกันแตกต่างกัน ในด้านการขอความช่วยเหลือ และการคบเพื่อนต่างเพศ นอกจากนี้ยังพบปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูที่สอนในโรงเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเพศต่างกันต่อบุคลิกภาพด้านความต้องการผูกไมตรีกับผู้อื่น

บุคลิกภาพและสมรรถภาพครูกับองค์ประกอบอื่นๆ

            การวิจัยบุคลิกภาพและสมรรถภาพครูกับองค์ประกอบอื่นๆ ได้แก่ การวิจัยที่โยงบุคลิกภาพและสมรรถภาพของครูเข้ากับตัวแปรอื่นๆ ทั้งที่เป็นตัวแปรต้นและตัวแปรตาม กล่าวคือ มีทั้งงานวิจัยที่แสดงเหตุต่างๆ ที่มีต่อผล คือ บุคลิกภาพและสมรรถภาพครู และงานวิจัยที่แสดงผลของบุคลิกภาพและสมรรถภาพของครูต่อสิ่งอื่นเฉพาะอย่างยิ่งต่อสัมฤทธิผลของนักเรียน รวมทั้งความสัมพันธ์แบบไม่เป็นตัวแปรด้านตัวแปรตาม ตัวอย่างงานวิจัยที่เป็นที่รู้จักกันพอสมควร คือ งานวิจัยของสตีเฟ่น ชินภัทธ์และ โมฮัมเหม็ด (2533) เรื่องตัวแปรที่พยากรณ์สมรรถภาพการสอนของครูและความรู้สึกของนักเรียนเกี่ยวกับคุณภาพการสอนของครู เพราะผลกระทบของตัวแปรทั้งสองที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ศึกษาโดยวิธีการสำรวจจากโรงเรียนประถมศึกษาทั่วประเทศ จำนวน 411 โรง ครู 3,868 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 9,768 คน ได้ผลดังนี้

            1. คุณภาพการสอนที่เป็นค่าเฉลี่ยของความรู้สึกของนักเรียนภายในโรงเรียนไม่มีผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อย่างไรก็ตาม ข้อมูลระดับนักเรียนที่แสดงความรู้สึกเกี่ยวกับคุณภาพการสอนกลับมีผลกระทบทางบวกอย่างมีนัยสำคัญต่อสัมฤทธิ์ผลทางการเรียน

            2. ตัวแปรเกี่ยวกับครู ได้แก่ ภาคภูมิศาสตร์ และฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม สามารถพยากร สมรรถภาพของครู กล่าวคือ ครูที่อยู่ในโรงเรียนที่ฐานะดีกว่ามีแนวโน้มสมรรถภาพสูงกว่าครูใน โรงเรียนที่มีฐานะยากจน โดยเฉพาะการนิเทศภายในมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญกับสมรรถภาพของครู

            3. ผลที่น่าประหลาดใจ คือ จำนวนปีของการฝึกหัดครู มีความสัมพันธ์ทางลบกับสมรรถภาพของครู การอบรมครูประจำการไม่กระทบต่อสมรรถภาพครู และความเพียงพอของอุปกรณ์การสอนพยากรณ์สมรรถภาพครูไม่ได้ อย่างไรก็ตามการฝึกหัดครู การอบรมครูประจำและความเพียงพอของอุปกรณ์การสอน การมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญกับคุณภาพการสอนของครู

            4. สมรรถภาพของครู มีสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพการสอนของครู

            5. สิ่งอำนวยความสะดวกภายในโรงเรียน ได้แก่ สภาพอาคาร และจำนวนครุภัณฑ์ของโรงเรียน เป็นกลุ่มตัวแปรที่ในตอนแรกมีความสัมพันธ์กับคุณภาพการสอนของครู แต่เมื่อควบคุมตัวแปรที่กล่าวมาแล้ว ทำให้ความสัมพันธ์หมดไป ซึ่งหมายความว่าตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับสิ่งอำนวยความสะดวกภายในโรงเรียน จะส่งผลทางอ้อมไปยังคุณภาพการสอนของครู โดยผ่านการใช้ทรัพยากรเหล่านั้นอย่างมีประสิทธิภาพ

[หน้าแรก] [รวมสาระ] [webboard]   counter power by seal2th